การปล่อยจรวดเพื่อส่งดาวเทียมขึ้นฟ้าเพียงดวงเดียว ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายแล้ว และจะน่าตื่นเต้นขนาดไหน ถ้ามีชาติใดในโลก สามารถส่งดาวเทียมเกิน 100 ดวง ด้วยการปล่อยจรวจเพียงครั้งเดียวได้สำเร็จ...
การทำลายสถิติปล่อยดาวเทียมครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา (ตามเวลาในประเทศอินเดีย) โดยองค์การวิจัยอวกาศของประเทศอินเดีย หรือ ISRO (Indian Space Research Organisation) ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวจ Polar Satellite Launch Vehicle ขึ้นจากฐานปล่อยที่อยู่ห่างจากเมือง นิวเดลี ออกไปทางตอนเหนือราว 1,600 กม.
ภายในจรวจของอินเดีย ถูกบรรจุไว้ด้วยดาวเทียมขนาดน้อยใหญ่ เป็นจำนวนรวม 104 ดวง ซึ่งเป็นการทำลายสถิติในปี 2014 ของประเทศรัสเซียลงอย่างราบคาบ ซึ่งในคราวนั้น มีการใช้จรวจลำเดียวปล่อยดาวเทียมจำนวน 37 ดวงขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก
ในโอกาสนี้ ทางนายกรัฐมนตรีของอินเดีย คุณ นเรนทระ โมที (Narendra Modi) ได้กล่าวแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จนี้อย่างรวดเร็ว ผ่านทาง Twitter ของเขา ระบุว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจในองค์ความรู้ทางด้านอวกาศของชาติอินเดีย
ดาวเทียม Cartosat-2
ซึ่งการปล่อยจรวจครั้งนี้ มีสัมภาระชิ้นใหญ่สุดคือ Cartosat-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ที่ทางประเทศอินเดียเป็นเจ้าของดาวเทียมดวงนี้ ส่วนดาวเทียมอีก 88 ดวง เป็นดาวเทียมขนาดเล็กแบบ Dove ที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพบนพื้นผิวโลก ซึ่งเป็นของบริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า Planet ส่วนดาวเทียมที่เหลืออีก 14 ดวง เป็นดาวเทียมขนาด Nano จากหลายประเทศ อาทิ อินเดีย, อิสราเอล, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สวิสเซอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์ และ คาซัคสถาน
คุณ Robbie Schingler ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Planet ที่ส่งดาวเทียมขึ้นวงโคจรจำนวน 88 ดวงในครั้งนี้ เผยว่า เหตุการณ์นี้เป็นจุดหมายสำคัญของบริษัท ซึ่งดาวเทียมจำนวนมากที่อยู่บนวงโคจร ทำให้เราสามารถเก็บภาพถ่ายของผิวโลกได้อย่างละเอียด และเป็นงานที่เราต้องทำในทุกๆ วัน
ดาวเทียมแบบ Dove ของบริษัท Planet
การปล่อยจรวดครั้งนี้ เกิดจากความพยายามทุ่มเทของเรามายาวนาน 5 ปี โดยในปี 2011 เราวางตั้งเป้าหมายที่จะ ถ่ายภาพของทุกทวีปโลกในทุกๆ วัน และเรามั่นใจว่าจะได้ข้อมูลภาพถ่ายที่มีคุณค่า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมายต่อมนุษยชาติ และเป็นภารกิจที่มีความท้าทายอย่างยิ่ง
เราคำนวณว่า ต้องใช้ดาวเทียมในจำนวนระหว่าง 100 ถึง 150 ดวงเพื่อการนี้ และในเวลานี้ เรามีดาวเทียมจำนวน 144 ดวงอยู่บนวงโคจร แต่ก่อนที่ดาวเทียมทุกดวงจะส่งภาพถ่ายกลับมา เราต้องทำการปรับตำแหน่งของพวกมันเสียก่อน เพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งดาวเทียมขนาดเล็กแบบ Dove ของบริษัท Planet นั้นมีน้ำหนักเพียง 4.5 กก. และดาวเทียมแต่ละดวงมีความเร็วในการส่งข้อมูลกลับมาที่ 200 Mbps และกล้องของมัน สามารถเก็บภาพได้เป็นพื้นที่กว้าง 2 ล้านตารางกิโลเมตร ในแต่ละวัน ซึ่งทางบริษัทจะนำข้อมูลภาพถ่ายไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ การป้องกันประเทศ, การทำแผนที่, การกสิกรรม รวมถึงการดูแลป่าไม้
ที่มา : www.digitaltrends.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น