แหล่งรวมสิ้นค้าด้านไอทีทุกชนิด Siam It Network คลื่นวิทยุของคนทำมาหากิน ที่มีทั้งสาระ บันเทิง และสาธารณะประโยชน์ของคนทุกคน โดย ทีมงานเพื่อนช่าง ศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท
การเรียนรู้ทุกอย่างกับผู้ที่มีความรู้มากกว่า มีความชำนาญกว่าเรา หรือที่เรียกว่าครูนั้น จะทำให้เราจดจำได้ดีและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่เรียนกับครูนั้นเรียกว่านักเรียน แต่หากเมื่อใดก็ตาม ที่เรารู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเราเอง รู้จักวิจารณ์และพิจารณาสิ่งเหล่านั้น ด้วยเหตุด้วยผลและประสบผลสำเร็จด้วยตัวเอง ท่านว่าเป็นนักรู้ คือรู้แจ้งด้วยตัวเอง ส่วนผู้ที่เป็นทั้งนักเรียนและนักรู้ ไปพร้อมกัน คือพยายามจดจำในสิ่งที่เหล่าเรียนและได้ฟังมาจากผู้อื่น และกลับมาพิจารณาด้วยเหตุและผลด้วยตนเอง

ค้นหาด้วยนี้ เจอแน่นอน

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แนวคำตอบ POL 4100 (PS 420) หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

POL 4100 (PS 420)
หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
1.1.       ให้อธิบายความแตกต่างของคำว่าต่อไปนี้

1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
ตอบ.....การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการใช้วิธีการเชิงปริมาณในการวิจัย โดยจะวัดผลสิ่งต่างๆ ที่ศึกษาออกมาเป็นตัวเลข มีการตั้งสมมุติฐานหรือมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเพื่อที่จะนำไปทดสอบเปรียบเทียบหรือหาความสัมพันธ์ตามที่กำหนดไว้เสมอ และมีการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ความถดถอย ,การทดสอบทีม, การทดสอบเอฟ
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่
1. ถือว่านักวิจัยควรแยกตัวเป็นอิสระออกจากสิ่งที่ศึกษา ดังนั้นในการวิจัยเชิงปริมาณจึงต้องพยายามควบคุมไม่ให้เกิดอคติในการวิจัย
2. มีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีระบบ
3. มีความเชื่อถือในความเป็นปรนัยหรือวัตถุวิสัย ในการประเมินสถานการณ์
4. ภาษาในการเขียนรายงานการวิจัยต้องเป็นภาษาที่ไม่แสดงออกถึงอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
5. แนวคิด ตัวแปร และสมมุติฐานในการวิจัย ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือทำวิจัย
6. ใช้การให้เหตุผลเชิงนิรนัย เพื่อการพิสูจน์สมมุติฐานในการวิจัยหรือทฤษฎีในเชิงเหตุผล
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงจากเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จะไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แตะจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์โดยใช้หลักเหตุผล , การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1. เน้นการศึกษาภาพรวมและบริบทของปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างรอบด้านและเจาะลึก
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก ไม่เน้นการสำรวจคนเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาระยะยาวและเจาะลึก เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม
4. เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ถูกศึกษา ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เป็นหลัก
5. ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่
6. การวิจัยเชิงคุณภาพสร้างทฤษฎีและสมมุติฐานจากข้อมูลที่รวบรวมได้
7. การวิจัยเชิงคุณภาพแยกข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มาจากระบบความคิด ความเชื่อ และการให้ความหมายของปรากฏการณ์จากมุมมองของคนที่ถูกศึกษาหรือชาวบ้าน


2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) กับสมสติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)
ตอบ.....สมมุติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของการพรรณนาหรืออธิบายเป็นข้อความ โดยไม่ใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมักจะมีคำว่า “เป็น” , “ทำให้เกิด”
     สมมุติฐานทางการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมุติฐานที่พรรณนาหรือบรรยายออมมาว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. สมมุติฐานในเชิงอธิบาย เป็นสมมุติที่อธิบายว่ามีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องกันบ้าง และตัวแปรไหนเป็นตัวอิสระ ตัวแปรตาม แล้วตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะไหน
     สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของสัญลักษณ์
     สมมุติฐานทางสถิติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานหลักหรือสมมุติฐานศูนย์ เป็นสมมุติฐานที่กำหนดให้ตัวแปรตามไม่แตกต่างกันหรือเท่ากัน เพื่อที่จะหาข้อมูลมาพิสูจน์ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ
2. สมมุติฐานทางเลือก เป็นสมมุติฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเลือกแทน Ho เมื่อถูกปฏิเสธ ดังนั้นสมมุติฐานทางเลือกจึงมีลักษณะตรงข้ามกับสมมุติฐานหลัก
     ในการเขียนสมมุติฐานทางสถิตินั้น สามารถที่จะแปลความหมายของสมมุติฐานทางสถิติได้หลายกรณี ตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิง”


3. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) กับตัวแปรตาม (Dependent Variable)
ตอบ.....ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรที่เป็นเหตุเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็น X          
          ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หรือตัวแปรที่เป็นผล เป็นตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรตาม มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y


4. การเลือกตัวอย่าง (Sample selection) กับขนาดตัวอย่าง (Sample size)
ตอบ.....การเลือกตัวอย่าง (Sample selection) หรือการสุ่มตัวอย่าง หมายถึง กระบวนการเลือกประชากรมาศึกษาเพียงบางส่วนจากประชากรทั้งหมดในปริมาณเพียงพอและให้มีความเป็นตัวแทนหรือมีลักษณะใกล้เคียงกับประชากร เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปยังประชากรทั้งหมด
     การเลือกหรือการสุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นหรือการสุ่มตัวอย่างแบบที่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ และการสุ่มตัวอย่างแบบที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ
1. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นสามารถแบ่งออกเป็น 5 วิธี ดังต่อไปนี้
  1.1. การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
  1.2. การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ
  1.3. การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
  1.4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
  1.5. การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
2. การสุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังต่อไปนี้
  2.1. การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
  2.2. การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา
  2.3. การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ประโยชน์หรือข้อดีของการสุ่มตัวอย่าง
     การสุ่มตัวอย่างมีประโยชน์หรือข้อดีอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
1. ประหยัดเวลาและประหยัดแรงงาน
2. สามารถรวบรวมข้อมูลได้เร็วและง่าย
3. หากใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. ข้อมูลบางอย่างผู้วิจัยมาสามารถหาได้จากกลุ่มประชากร
     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง


5. แบบสอบถาม (Questionnaire) กับแบบสัมภาษณ์ (Interview form)
ตอบ.....แบบสัมภาษณ์(Interview form) การสัมภาษณ์ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ และนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นการรวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้า โดยอาศัยการสนทนา หรือการถกเถียง และการซักถามระหว่างผู้สัมภาษณ์ กับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบหรือข้อมูลที่ตนเองต้องการ ดังนั้นผู้สัมภาษณ์ควรจะเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ค่อนข้างสูง จึงจะทำให้การสัมภาษณ์บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ
   การสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
2.การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
3. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
     ข้อดีของการใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. สามารถนำไปใช้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกได้
2. สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าผู้นั้นจะอ่านออกเขียนได้หรือไม่ก็ตาม
3. สามารถดัดแปลงหรือแก้ไขปรับปรุงข้อมูลหรือวิธีการสัมภาษณ์ได้ทันที
4. สามารถอธิบายคำถามที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่เข้าใจได้
5. สามารถสังเกตกิริยาของผู้ถูกสัมภาษณ์ในขณะที่สัมภาษณ์ได้ฯลฯ
     แบบสอบถาม (Questionnaire) ถือเป็นเครื่องที่สำคัญและนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะการวิจัยเชิงสำรวจโดยเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ตอบ แล้วให้ผู้ตอบตอบคำถามตามที่ผู้วิจัยกำหนดทางเอาไว้ ซึ่งแนวคำถามที่ใช้ในแบบสอบถามอาจจะเป็นเรื่องผู้ให้ข้อมูลจะเป็นผู้กรอกข้อมูลในแบบสอบถามด้วยตนเอง
     แบบสอบถาม มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่เป็นคำชี้แจงในการตอบ
2. ส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ตอบ
3. ส่วนที่เป็นคำถามให้ตอบ
     แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. แบบสอบถามแบบปลายปิด
2. แบบสอบถามแบบปลายเปิด


22.       เครื่องมือชนิดใดบ้างที่นิยมใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณและชนิดใดนิยมใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ตอบ.....1. เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์
          2. เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม


33.       ขั้นตอนในการวิจัยมีอะไรบ้าง อธิบายโดยสังเขป
ตอบ.....ขั้นตอนในการวิจัย มีลำดับขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1. การกำหนดประเด็นปัญหาหรือการตั้งคำถามในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
2. การตั้งชื่อในการวิจัย หมายถึง นำคำถามที่คิดได้นี้ดัดแปลงเขียนออมมาเป็นชื่อเรื่องในการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำถามก็ตาม
3. การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมผลงานทางวิชาการจากแหล่งต่างๆ เช่น ตำรา หนังสืออ้างอิง พจนานุกรม บทความทางวิชาการ
4. การกำหนดกรอบแนวคิดและทฤษฎี หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ โยจะมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
5. การตั้งสมมุติฐานในการวิจัย หมายถึง การพยากรณ์ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยพยากรณ์หรือคาดเดาคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า ก่อนที่ผู้วิจัยจะสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายๆลักษณะ เพื่อจะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ทดสอบสมมุติฐาน ตีความ และสรุปผลการวิจัยที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการ มีความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้
7. การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำเอาข้อมูลที่นักวิจัยเก็บรวบรวมมาได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวมถึงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงมาทำการจัดระเบียบ แยกแยะประเภทและองค์ประกอบ เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
8. การเขียนรายงานการวิจัย (ขั้นตอนสุดท้าย) หมายถึง การเขียนรายงานการวิจัยเป็นการเขียนผลสรุปของการวิจัยซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยหรือข้อค้นพบให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ สังคม ตลอดจนนำไปสู่ข้อค้นพบใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ และยังผลให้สาขาวิชานั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น


44.       การตั้งเรื่องในการวิจัยมีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องกับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยอย่างไร
ตอบ.....การตั้งเรื่องในการวิจัยมีที่มา หลังจากได้คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยแล้ว ก็จะนำคำถามที่คิดได้นี้มาดัดแปลงเขียนออกมาเป็นชื่อเรื่องในการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยชน์คำถามก็ตาม แต่การเขียนชื่อเรื่องจะเขียนเป็นวลี และจะไม่ใช้ตัวย่อในการเขียนชื่อเรื่อง ซึ่งสาเหตุที่บอกว่าการตั้งชื่อเรื่องเป็นวลี ก็เพราะว่าชื่อเรื่องไม่มีประธาน แต่ประโยคต้องมีประธาน กิริยา และกรรม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. นักการเมืองไทยมีบทบาทในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างไรบ้าง
2. นักการเมืองไทยมีบทบาทในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
3. บทบาทของนักการเมืองไทยในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
เกี่ยวข้องกับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย คือ หลังจากที่ได้ตั้งชื่อเรื่องและการทบทวนวรรณกรรมเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ได้ว่าเราจะทำวิจัยอย่างไร จะทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร โดยต้องวางแผนก่อนว่าอยากจะทำอะไร อยากรู้เรื่องอะไรบ้าง


55.       ให้อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

1. สมมติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)
ตอบ.....สมมุติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของการพรรณนาหรืออธิบายเป็นข้อความ โดยไม่ใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมักจะมีคำว่า “เป็น” , “ทำให้เกิด”
     สมมุติฐานทางการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมุติฐานที่พรรณนาหรือบรรยายออมมาว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. สมมุติฐานในเชิงอธิบาย เป็นสมมุติที่อธิบายว่ามีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องกันบ้าง และตัวแปรไหนเป็นตัวอิสระ ตัวแปรตาม แล้วตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะไหน

2. ขนาดตัวอย่าง (Sample size)
ตอบ.....     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง

3. ประชากร (Population)
ตอบ.....ประชากร (Population)หมายถึง ที่จะนำมาศึกษาทั้งหมดในการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นคน พืช สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็จัดเป็นประชากรในการวิจัยได้ทั้งหมด ซึ่งในทางสังคมศาสตร์ก็จะเน้นไปที่คน

4. คำถามในการวิจัย (Research question)
ตอบ.....คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบหรือเป็นคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยง่าย หรือหาคำตอบแต่ยังไม่ชัดเจน และจะต้องเป็นคำถามที่น่าสนใจที่จะหาคำตอบด้วย ซึ่งคำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยนี้ ถือเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจเป็นอันดับแรก

5. การวิจัยคุณภาพ (Qualitative research)
ตอบ.....การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงจากเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จะไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แตะจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์โดยใช้หลักเหตุผล , การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1. เน้นการศึกษาภาพรวมและบริบทของปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างรอบด้านและเจาะลึก
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก ไม่เน้นการสำรวจคนเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาระยะยาวและเจาะลึก เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม
4. เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ถูกศึกษา ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เป็นหลัก
5. ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่
6. การวิจัยเชิงคุณภาพสร้างทฤษฎีและสมมุติฐานจากข้อมูลที่รวบรวมได้
7. การวิจัยเชิงคุณภาพแยกข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มาจากระบบความคิด ความเชื่อ และการให้ความหมายของปรากฏการณ์จากมุมมองของคนที่ถูกศึกษาหรือชาวบ้าน

6. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantilative data)
ตอบ.....ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantilative data) หมายถึง ข้อมูลที่บอกข้อเท็จจริงในลักษณะที่เป็นตัวเลข สามารถนับจำนวนได้ และคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยข้อมูลประเภทนี้จะเก็บรวบรวมได้จากการวัด การนับ หรือจากผลการทดลอง ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลหรือค่าตัวแปรที่ได้จากมาตรวัดแบบอันตรภาค และมาตรวัดแบบอัตราส่วน เช่น อุณหภูมิ อายุ รายได้ เงินเดือน ค่าตอบแทน น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆ จำนวนคน เป็นต้น

7. ตัวแปรตาม (Dependent variabie)
ตอบ.....ตัวแปรตาม (Dependent variabie)หรือตัวแปรที่เป็นผล เป็นตัวแทนที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรอิสระ มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y


66.       การวิจัยคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร ท่านสามารถใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการวิจัย
ตอบ.....การวิจัย (Reseach) หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการอื่นที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆ หรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งกระบวนการในการวิจัยมีขั้นตอนสำคัญต่างๆในการวิจัยที่เราจะต้องศึกษาทำความเข้าใจนั้น ได้แก่
1. การตั้งคำถามในการวิจัย
2. การตั้งชื่อเรื่องในการวิจัย
3. การทบทวนวรรณกรรม
4. การกำหนดกรอบแนวคิดและทฤษฎี
5. การตั้งสมมุติฐานในการวิจัย
6. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
7. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย
8. การเขียนรายงานการวิจัย
     สามารถใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น
1. แบบสอบถาม
2. แบบทดสอบ


77.       ประชากร (Population) กับกลุ่มตัวอย่าง (Sample)
ตอบ.....ประชากร (Population)หมายถึง ที่จะนำมาศึกษาทั้งหมดในการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นคน พืช สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็จัดเป็นประชากรในการวิจัยได้ทั้งหมด ซึ่งในทางสังคมศาสตร์ก็จะเน้นไปที่คน
     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง


88.       ตัวแปรภายนอก (Extrancous variable) กับตัวแปรแทรก (Intervening variable)
ตอบ..... ตัวแปรภายนอก (Extrancous variable) คือ เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัยแต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยสามารถควบคุมได้
     ตัวแปรแทรก (Intervening variable) หรือ ตัวแปรคั่นกลาง เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัย แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้


99.       ตัวแปรอิสระ (Independent variable) กับตัวแปรตาม (Dependent variable) แตกต่างกันอย่างไร ถ้าท่านต้องการศึกษาว่าความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นกับ เพศอาชีพ และระดับการศึกษาของประชาชนหรือไม่ ท่านคิดว่าอะไรเป็นตัวแปรอิสระอะไรเป็นตัวแปรตาม และท่านเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยกับสมมติฐานในการวิจัยอย่างไร
ตอบ.....ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม แตกต่างกัน คือ ในการวิจัยเรื่องหนึ่งๆนั้น การจะดูว่าตัวแปรไหนเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรไหนเป็นตัวแปรตามนั้น ก็ดูว่าถ้าเป็นตัวแปรอิสระก็จะไม่ขึ้นกับใครหรือไม่ตามใครหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม แต่ถ้าเป็นตัวแปรตามจะขึ้นกับตัวแปรอิสระหรือจะเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ ตัวอย่างเช่น......
     ข้อความที่ว่า “ถ้าอายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลง” แสดงว่าอายุเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนประสิทธิภาพในการทำงานเป็นตัวแปรตาม
      จากการศึกษาว่าความพึงพอใจของประชาชน ในเรื่องโครงการจำนำข้าวในยุคของ นางสาว ยิ่งลักษณ์ นั้นทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจมาก ไม่ว่าทั้งเพศชายหรือเพศหญิง ที่อยู่ในอาชีพ เกษตรกร การทำนา จากการศึกษา จากแบบสัมภาษณ์ มา
     การศึกษาความพึงพอใจ เป็นตัวแปรอิสระ และ ระดับการศึกษาของประชาชน เป็นตัวแปรตาม


110.   จากคำถามในข้อ 9 ท่านจะตั้งชื่อเรื่องว่าอะไร และใช้เครื่องมืออะไรในการวิจัยเพราะอะไร
ตอบ.....ชื่อเรื่อง โครงการจำขำข้าวของรัฐบาล และใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม


111.   คำถามในการวิจัย (Research question) กับกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
ตอบ.....คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบหรือเป็นคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยง่าย หรือมีคำตอบแต่ยังไม่ชัดเจน และจะต้องเป็นคำถามที่น่าสนใจที่จะหาคำตอบด้วย
     กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework) กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ โยจะมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามคล้ายกับสมมุติฐานในการวิจัย ซึ่งในการวิจัยทางรัฐศาสตร์นี้ก็จะมีการนำเอาแนวคิด มโนทัศน์หรือ สังกัปทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย


112.   ให้อธิบายความหมายของตัวแปรดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1. ตัวแปรอิสระ (Independent variable)
ตอบ.....ตัวแปรอิสระ (Independent variable)หรือ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรที่เป็นเหตุเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น x
2. ตัวแปรแทรก (Intervening variable)
ตอบ.....ตัวแปรแทรก (Intervening variable) หรือตัวแปรคั่นกลาง เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัย แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้
3. ตัวแปรระดับ Nominal
ตอบ.....ตัวแปรระดับ Nominal หรือมาตรวัดแบบนามบัญญัติ หรือมาตรวัดแบบกลุ่ม ค่าตัวแปรที่วัดได้จากมาตรวัดนี้ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถแบ่งกลุ่มได้ แต่ไม่สามารถจัดอันดับและไม่สามารถวัดเป็นเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาคำนวณ (บวก ลบ คูณ หาร) ได้ และไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สัมบูรณ์ เช่น เพศ ภูมิภาค ศาสนา อาชีพ สถานภาพสมรส คณะ(รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์) เพลง ภาพยนตร์ รุ่นของรถยนต์ ยี่ห้อ สี แนวคิด เป็นต้น
4. ตัวแปรระดับ Ratio

ตอบ.....ตัวแปรระดับ Ratio หรือ มาตรวัดแบบอัตราส่วน ค่าแปรที่วัดได้จากมาตรวัดนี้ เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถแบ่งกลุ่ม จัดอันดับ และวัดเป็นเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาคำนวณได้ และยังมีศูนย์แท้หรือศูนย์สัมบูรณ์ด้วย เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความกว้าง ความยาว เวลา รายได้ เงินเดือน จำนวนคน ประสบการณ์(ปี) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไอทีที่ยอดนิยมสัปดาร์ที่แล้ว

ไอทีที่นิยมปีที่ผ่าน

ไอทีที่ได้รับความนิยม

กระทู้ล่าสูด

ป้ายกำกับ

(16GB) 3bb 9 วิธี ตรวจเช็คสมาร์ทโฟน ป้องกันเครื่องย้อมแมว กล้องมิลเลอร์เลสตัวท็อป การไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เกาหลี ข่าวเกมส์ ข่าวแกดเจ็ต และ อุปกรณ์เสริม ข่าวคอมพิวเตอร์ และ โน๊ตบุ๊ค ข่าว ซอฟต์แวร์ ข่าว ซื้นสินค้าออนไลน์ ข่าวเทคโนโลยี ข่าวเน็ตเวิร์ค(network) ข่าวมือถือ ข่าววงการไอที ข่าววาไรตี้ ข่าว สมาร์ทโฟน ข่าวหนังภาพยนตร์ ข่าวอินเตอร์เน็ต และ เน็ตเวิร์ค ข่าวอินเตอร์เน็ต(internet) ข่าวอุปกรณ์ไอที และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข่าวไอที ข่าว AMD ข่าว Qualcomm ข่าว Qualcommข่าว ข่าว Ryzen ข่าว smartphone ข่าว Ultrabook คอมพัวเตอร์ คอมพิวเตอร์ งานไฟฟ้า ซ่อมคอม เซ็นเซอร์อุณหภูมิ โซลาร์เซลล์ ทำHotSpot เทคโนโลยี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธอส บริการ ปากกาสำหรับ โปรโตคอล พัฒนา ไฟฟ้าแรงต่ำ ไฟฟ้าแรงสูง มือถือ ระบบเครือข่าย ระบบงานไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบมอเตอร์ประตูบานเลื่อน รับวางระบบอินเตอร์เน็ต รับเหมา ราคา ราคา NoteBook ASUS รูปแบบเสากันขโมย ลาซาดา วิธีแชร์เน็ต วิธีต่อดอกลำโพง เว็บไซต์กระจายโฆษณา เศรษฐศิริ สยามไอทีเน็ตเวิคส์ สร้างรายได้ไห้เว็บไซต์ สลาก ธอส. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์​ ส่วนภูมิภาค สายเคเบิลใช้ความถี่ 350 MHz สายพ่วง สายแลนคุณภาพดียี่ห้อ Link สายแลน CAT6 Link สายแลน UTP CAT5E เสากันขโมย เสาสัญญาณกันขโมย เสียง อาเซียน อินเทอร์เน็ต 3BB ไอที ไอโฟน11 ฮาร์ดดิสก์ ACER Address ADVICE AEC AIS AIS Fibre AM Arduino Aspire ASUS ASUS ZenFone Zoom S Audio AUTOMATIC AUTOMATIC DOOR Bridge caspersky CAT6 computer copy CrystalDiskInfo .daa Default gateway DOOR download DVD EAS EAS SYSTEM EM Embedded Express Firewall FrameWork FrameWork 2.0 FrameWork 3.5 googlemaps Group Harddisk HDD HDMI HotSpot https://www.facebook.com/setupserver1 Huawei hylifenetwork ICBM .img Internet Into IP addres IP Address IPcop iPhone 7 Plus iPhone x iPhone xs IPTV .iso it IT News K242HLbd L2 8GB Laptop LCD LED 24'' Leegoog Leegoog L2 8GB Link Log manager Marketing .mdf Media Microsofft Mi Max mobile Nero Nero Express net Network NoteBook NOVA NOVA N15i .nrg onboard ONVIF Oppo partition pea PLUs Power Preferred DNS serve Proxy Qualcomm 845 RF RJ45 RTP Samsung Samsung Galaxy Samsung Galaxy S8 School Screen Server setupserver shop shrink siam siamitnetwork Sites SLIDE DOOR SMART Snapdragon Snapdragonข่าว Social Social Network SONY SUPER support Sure System TCP TFT to TOT Touch True Unallocated UPD VEN Video Vista Vivo Vivo Thailand Vivo V5 Vivo V5 Plus volume Wifi wikiHow Wiko WINDOWS WINDOWS 7 Wireless WLAN work www.siamitnetwork.com Xiaomi Xiaomi Mi Max (16GB) YouTube ZenFone Zoom